Blog

AMDD/CSDT file

AMDD CSDT file

AMDD/ CSDT File 

AMDD คือ กฎหมายว่าด้วยเรื่องเครืองมือแพทย์ของอาเซียน  AMDD มาพร้อมกับ CSDT หรือ รูปแบบแฟ้มเอกสารที่ต้องจัดทำสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่ต้องการผลิตและจัดจำหน่ายในอาเซียน  

AMDD -ASEAN Medical Device Directive :     

กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ  จัดทำโดย Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)  เชื่อมโยงกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านเครื่องมือแพทย์ของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิก   มีเป้าหมายเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่จะเข้าตลาดและใช้กับผู้ป่วยในภูมิภาคนี้  

Key aspects of AMDD คือข้อมูลและรายละเอียดที่ผลิตภัณฑ์ต้องปฏิบัติตาม EP- Essential Principles อย่างครบถ้วนทั้งด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ (Safety and Performance), การบ่งชี้หรือระบุระดับความเสี่ยง (Risk Classification categories) , การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์และการแสดงวิธีรับรองผลิตภัณฑ์   (สำหรับประเทศไทย คือ การอนุญาต การแจ้งรายละเอียด และการจดแจ้ง )

 

CSDT -Common Submission Dossier Template :

CSDT คือ รูปแบบเอกสารที่ต้องจัดทำและยื่นเพื่อแสดงความสอดคล้องหรือรับรองผลิตภัณฑ์ คมพ.    CSDT file เป็นรูปธรรมหนึ่งที่กฎหมาย AMDD กำหนด (Annex 4 :ASEAN Common Submission Dossier Template) เพื่อยื่นขอตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ในประเทศอาเซียน 

ประโยชน์ในการจัดทำ CSDT  

  • รูปแบบ CSDT   ช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการลงทะเบียนโดยจัดรูปแบบที่สอดคล้องกันในการนำเสนอรายละเอียด ข้อมูลทางเทคนิค ของเครื่องมือแพทย์ โดยครอบคลุมทั้งทางด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
  • CSDT ลดความซับซ้อนในการจัดทำข้อมูลจากผู้ผลิต
  • ส่วนหนึ่งในการจัดทำ CSDT จะทำให้เจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ทบทวนข้อมูลของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เป็นส่วนช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
  • เกิดความมั่นใจ เมื่อผลิตภัณฑ์เข้าสู่การใช้งานกับผู้ป่วย

รายการหัวข้อในการจัดทำ CSDT (อ้างอิงตาม AMDD, Annex 4) หัวข้อ ในการใส่ข้อมูลใน CSDT file ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การทดสอบ การใช้งาน ข้อมูลด้านคลินิก รวมไปถึงการทิ้งทำลาย ผลิตภัณฑ์ เรียกได้ว่าครบถ้วนตลอดวงจรของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์  

 

CSDT- Common Submission Dossier Template 

หัวข้อใน CSDT ตามรายการข้างล่างนี้ นำมาจาก AMDD, Anex 4 หากผู้ผลิตต้องการยื่นขอรับรอง จากหน่วยงาน อย. กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ ควรศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางที่ อย. กำหนด จะชัดเจนและง่ายต่อการจัดทำ  

 

The CSDT is organized into the following main sections:

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิต Administrative Data: Introduction /Scope

    • ชื่อผู้ยื่นหรือผู้ผลิต Applicant information
    • รายละเอียดเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ (ชื่อสามัญ, ระดับความเสี่ยงที่กำหนดใน AMDD, วัตถุประสงค์การใช้,   และอื่นๆ)
    • ประเภทการยื่น   Registration typeข้อมูลผู้ติดต่อ (Regulatory authority contact information)

2.  บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) :

    • ภาพรวมขององค์กร ผู้ผลิต ประวัติความเป็นมา แบบย่อ
    • ภาพรวมโดยย่อของอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ การใช้งานที่ต้องการและข้อมูลสนับสนุนที่สำคัญ เช่น นวัตกรรม มาตรฐาน
    • ประวัติการวางจำหน่าย ประเทศที่รับอนุญาตวางจำหน่าย
    • การเกิดเหตุข้อร้องเรียน การรายงานความไม่พึงประสงค์และ การปฏิบัติการแก้ไข  

3.  ข้อมูลหลักการสำคัญด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ (Essential Principles -EP (ภาคผนวกที่ 1)  

    • การประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดยต้องแสดงวิธีการ ความสอดคล้องในแต่ละหัวข้อ โดยอ้างอิงถึงมาตรฐานสากลเป็นหลัก กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การทดสอบ ข้อมูลด้านคลินิก (Clinical Data)

 

EP-Essential Principle ระบุอยู่ใน Annex I AMDD  แบ่งหัวข้อที่ต้องประเมินแสดงข้อมูลเป็น 19 หัวข้อ 

1) หลักการทั่วไป และการบริหารความเสี่ยง (General Principles / Risk Management) : การพยายามลดความเสี่ยงของอุปกรณ์การแพทย์ ตั้งแต่กระบวนการออกและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

2) การวิเคราะห์ประโยชน์และความเสี่ยงที่ต้องเตรียมข้อมูลทางด้านคลินิก (Clinical Benefit and Risk/Benefit Analysis) 

3) บรรลุประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์

4) การออกแบบและโครงสร้าง ผลิตภัณฑ์

5) ลักษณะและสมรรถนะต้องคงอยู่ระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ

6) การเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์

7) การแสดงข้อมูลหลักฐานด้านคลินิกข้อมูลทางการแพทย์

8) คุณสมบัติและข้อกำหนดด้านเคมี กายภาพและจุลินทรีย์ (Chemical, Physical and Biological properties) 

9) การปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์และติดเชื้อ (Infection and microbial contamination)

10) การผลิตและคุณสมบัติด้านสภาพแวดล้อม (Manufacturing and environmental properties)

11) เครื่องมือแพทย์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยหรือมาตรวัด

12) การป้องกันการแผ่รังสี (Protection against radiation) 

13) ข้อกำหนดสำหรับเครื่องมือแพทย์ที่เชื่อมต่อกับ หรือประกอบอยู่กับแหล่งหลังงาน (Requirements for medical devices connected to or equipped with an energy source) 

14) การป้องกันความเสี่ยงทางกล (Protection against mechanical risks )

15) การป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อผู้ป่วยจากพลังงานที่จ่ายหรือจากสาร (Protection against the risks posed to the patient by supplied energy or substances)

16) เครื่องมือแพทย์ฝันในร่างกายมีกำลัง หรือมีไฟฟ้า (Active implantable medical devices)

17) การป้องกันความเสี่ยงต่อผู้ป่วยสำหรับเครื่องมือแพทย์เพื่อทดสอบด้วยตัวเองหรือเพื่อการรักษาด้วย ตัวเอง(Protection against the risks posed to the patient for devices for self-testing or self-administration)

18) ข้อมูลที่ส่งมอบให้โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Information supplied by the product owner )

19) การวิจัยทางคลินิก (Clinical Investigation)

 

 

4. รายละเอียดผลิตภัณฑ์ Device Description:

    • รายละเอียดที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ คุณสมบัติ คุณลักษณะทางกายภาพ ทางด้านประสิทธิภาพ specification 
    • การออกแบบ วัสดุ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ ฟังก์ชั่น

5.  บทสรุปของการออกแบบ การทดสอบและการทวนสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์  

     (Summary of Design Verification and Validation)

    • การแสดงหลักฐานการทดสอบ ตรวจสอบ หรือ มาตรฐาน เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัย เช่นเลือกใช้วัตถุดิบ Pharma grade การทดสอบด้านกายภาพ การทดสอบด้านจุลินทรีย์ Evidence
    • การตรวจรับรองความถูกต้อง (Validation) จากการประเมินข้อมูลด้านคลินิก การทดลองด้านคลินิกในผู้ป่วย ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

6.  Preclinical and Clinical Data

    • Non-clinical data (e.g., laboratory testing, animal studies)
    • Clinical data (Clinical Evaluation, clinical trials, post-market surveillance)

7.  ฉลากและข้อมูลสำหรับผู้ใช้:

    • ข้อมูล ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ Information provided on the device's label and packaging
    • คู่มือการใช้งาน หรือ ข้อบ่งชี้การใช้ เช่น User Manual, IFU -Instructions for use, คำเตือน (warnings), ข้อควรระมัดระวัง,

 8. การวิเคราะห์ความเสี่ยง Risk Analysis:

    • การบ่งชี้และประเมินโอกาสเกิดอันตรายหรือความเสี่ยง
    • การกำหนดมาตรการควบคุมที่เหมาะสม การสรุปผลภาพรวมความเสี่ยง

9.  ข้อมูลผู้ผลิต Manufacturer Information:

    • ขั้นตอนการผลิต
    • ระบบมาตรฐานคุณภาพที่ผ่านการรับรอง
    • มาตรฐานหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • จำนวนสถานที่ผลิตหรือกิจกรรมที่ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง

 

               จากรายการข้างต้น หน่วยงานกำกับดูแลแต่ละประเทศอาจจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ผู้ผลิตที่ต้องนำเข้าจำหน่ายจำเป็นต้องตรวจสอบสอบก่อน ยื่น CSDT และรวมถึง ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยง (Risk Classification) ของอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์

 

        เทคนิคการจัดทำ CSDT file

CSDT file preparation tecnique

 

         มีเทคนิคที่สำคัญที่ผู้ยื่นต้องตรวจสอบและมั่นใจก่อนยื่น  คือ  

    • แฟ้ม CSDT มีความสมบูรณ์และถูกต้องแม่นยำ  มั่นใจว่าข้อมูลในแต่ละส่วน หรือ section มีความถูกต้อง  สอดคล้องกับกฎระเบียบ มาตรฐานโดยเฉพาะมาตรฐานหลักของผลิตภัณฑ์ 
    • มีความชัดเจนและรัดกุม  ควรจะนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ในลักษณะที่ชัดเจน สอบกลับได้
    • การอ้างอิงและมีการเชื่อมโยงที่ต้องสอดคล้องกัน ในแต่ละ section  ทั้งนี้ง่ายต่อการจัดทำข้อมูลและง่ายต่อการตรวจสอบจากหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญ   
    • เอกสารที่อ้างอิงหรือสนับสนุนข้อมูล ต้องจัดเตรียมแนบท้ายหรือภาคผนวก ตามความจำเป็นและเหมาะสม 
    • ปฏิบัติตามกฎระเบียบ AMDD  ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่า CSDT สอดคล้องกับหลักการสำคัญของ EP-Essentail Principle และ AMDD 

 

   สรุปความสัมพันธ์ระหว่าง AMDD และ CSDT   

    • CSDT เป็นเครื่องมือที่เป็นรูปธรรม หรือผลลัพธ์ที่สำคัญแสดงถึงความสอดคล้อง และการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมาย AMDD
    • เมื่อใช้ CSDT ผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Product Owner) มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นตรงตามกฎระเบียบที่ระบุไว้ใน AMDD
    • CSDT ส่งเสริมการทบทวนกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพและการเข้าสู่ตลาดที่รวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะเป็นไปตามข้อกำหนดประเทศสมาชิก
    • โดยสรุป AMDD กำหนดกรอบการกำกับดูแลสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ในอาเซียน ในขณะที่ CSDT เป็นเครื่องมือที่เป็นรูปธรรม ตรวจสอบได้จริง สำหรับผู้ผลิตในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและเข้าถึงตลาดในภูมิภาค
    • Note ** ในกรณียื่นกับหน่วยงานกำกับดูแล โดยเฉพาะ อย. ผู้จัดทำ CSDT ต้องศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางที่ อย.กำหนดอย่างละเอียด  

AMDD and CSDT

 

Our Services :-  

  • 1.  AMDD /CSDT training & Consulting 
  • 2.  บริการจัดทำแฟ้ม CSDT 
  • 3.  Clinical Evaluation Report  
  • 4.  การจัดทำรายงานการทดสอบ 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

Q Time Consulting เป็นทีมที่ปรึกษา ที่มีประสบการณ์มายาวนาน ให้บริการทั้งการอบรม การให้คำปรึกษาและโค้ชชิ่ง ด้วยเทคนิคและวิธีการที่นำประยุกต์ใช้งานได้จริง

Contacts

  info@qtimeconsult.com

  +662 965 5181, 081 713 3450, 089 485 1991

   +662 965 5182

   68/858 ตำบล บางกระสอ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี 11000