Blog

Risk Management

rm 18036402

ISO14971 Risk Management for Medical Device 

การบริหารความเสี่ยงสำหรับเครื่องมือแพทย์ 

ISO14971 Risk Management  แนวทางการวิเคราะห์  การประเมิน ควบคุม และการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงและอันตราย จากเครื่องมือแพทย์ที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยและผู้ใช้

  • ความสำคัญของ ISO14971

Risk Management หรือการบริหารความเสี่ยง ในปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียง Guidelines ที่อยู่ในข้อกำหนดมาตรฐาน ISO13485 เท่านั้น  ยังกลายเป็นกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ของหน่วยงานกำกับดู (Regulator)  ของแต่ละประเทศด้วย  เช่น CE Marking for Medical Device , IVDR, USFDA   กำหนดให้ต้องบริหารความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์ที่จะนำไปวางจำหน่าย อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง   

ผู้ผลิตชิ้นส่วน หรืออยู่ในห่วงโซ่ของเครื่องมือแพทย์ ก็สามารถนำ ISO14971 มาประเมินความเสี่ยงด้วยเช่นเดียวกัน 

ข้อกำหนด ISO13485 ที่กำหนดเรื่องความเสี่ยง

นอกจาก ISO13485 แล้ว ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์อื่นๆ ที่กำหนดให้ต้องประเมินและลดความเสี่ยง  เช่น

  • IEC 60601-1 ลดความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ที่เกิดจากไฟฟ้าเช่น การลัดวงจร ความผิดพลาดเชิงเดียว  การใช้งานด้านไฟฟ้า
  • IEC 62304 ความเสี่ยงจากเครื่องมือแพทย์ที่มีซอฟท์แวร์ ในการทำงาน เช่น รักษา ติดตามผู้ป่วยจากซอฟท์แวร์ 
  • ISO10993 การประเมินความเสี่ยง จากวัตถุดิบและเครื่องมือแพทย์ ทีต้องสัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้ใช้ หรือ เป็นการบริหารความเสี่ยงจากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (Biocompatibility) 

  ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่กล่าวถึง การบริหารความเสี่ยงและต้องจัดทำ

การบริหารความเสี่ยง ต้องจัดทำการบริหารตลอดวงจรชีวิตของเครื่องคือ  การออกแบบ  การผลิต  การใช้งานและการทิ้งทำลาย

 

RiskManagement thoughout Medical device

 

แนวทางการบริหารความเสี่ยง Risk Management  ตามวงจรของ ISO 14971
rm 18036403

Figure: 1  Risk Management Flow

  • การเตรียมและกำหนดแผนการบริหารความเสี่ยง  (Risk Management Plan) โดยครอบคลุมตลอดวงจรของการบริหารความเสี่ยง (Medical Device Life cycle) ตั้งแต่การกำหนดผู้รับผิดชอบ การจัดการอบรมและประเมินทักษะของทีม   การกำหนดขอบเขตของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือใช้ร่วม ใช้ต่อพ่วง (Accessary)  ต้องประเมินร่วมด้วย    การจัดทำแผบบริหารความเสี่ยงครอบคลุมประเด็นเหล่านี้เป็นอย่างน้อย  คือ    

 

Risk Management Plan

 

  • การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) ประกอบด้วยการระบุแหล่งที่มาของความเสี่ยง (Hazard) การวิเคราะห์เหตุการณ์และสถานการณ์ที่นำไปสู่อันตราย (Hazardous Situation)  และอันตรายหรือความเสี่ยงที่ผู้ป่วยและผู้ใช้จะได้รับผลกระทบ โดยใช้เครื่องมือ (Tools) วิธีการ หรือเทคนิค ต่างๆ มาใช้ประกอบการประเมิน เครื่องมือหนึ่งที่นิยมและเป็นที่รู้จักคือ FMEA – Failure Mode and Effects Analysis   หรือใช้เครื่องมืออื่นๆ มีช่วยในการประเมิน การบ่งชี้ เพื่อให้เข้าถึงความเสี่ยงได้อย่างแท้จริง  เช่น การใช้  PHA-Preliminary Hazard analysis, Taguchi analysis. ใน ISO14971  มีหลักการแนวทางใช้ร่วมการวิเคราะห์ เช่น Annex A  บ่งชี้คุณลักษณะของเครื่องมือแพทย์   การระบุแหล่งที่มาของอันตรายโดยใช้ Annex C  เป็นต้น  การประมานความเสี่ยงโดยใช้  โอกาสเกิด (Probability)  และ ความรุนแรง (Severity)  
  • การประเมินความเสี่ยง (Risk Evaluation) โดยการกำหนดเกณฑ์การยอมรับความเสี่ยง สอดคล้องกับนโยบายด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ขององค์กร กฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์นั้น  หากการประเมินไม่สามารถยอมรับได้ ต้องดำเนินการเข้าสู่การกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงนั้น

          

 

  • การควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) มาตรการที่จะควบคุมความเสี่ยง สามารถกำหนดได้ตั้งแต่การเริ่มการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์  การควบคุมในกระบวนการผลิต และการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคหรือ ผู้ใช้และผู้ป่วย  หากมาตรการมีประสิทธิภาพเพียงพอ ความเสี่ยงจะลดระดับได้ แต่มาตรการควบคุมที่กำหนดอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ (Risk arising from risk control measure)   ทีมบริหารความเสี่ยง ต้องพิจารณาในประเด็นนี้ และเพิ่มการประเมินความเสี่ยงที่เกิดใหม่นี้อีกครั้ง   และความเสี่ยงที่ยังไม่สามารถยอมรับได้ ทีมบริหารความเสี่ยงต้องจัดทำการรายงานให้เห็นถึงประโยชน์ -ความเสี่ยง (Benefit -Risk)  

Risk Residual

 

  • ประเมินภาพรวมความเสี่ยงที่ยังหลงเหลือ (Evaluation of Overall residual Risk) จากการประเมินความเสี่ยงตลอดวงจรชีวิต MD แล้ว จัดทำการสรุปเพื่อให้เห็นความเสี่ยงที่ยังคงต้องพิจารณา หาแนวทางการลดความเสี่ยงนั้น หรือนโยบายขององค์กรต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
  • การทบทวนการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยงต้องได้รับการทบทวนในแต่ละขั้นตอนการจัดการความเสี่ยง  ได้แก่ การทบทวนแผนบริหารความเสี่ยง (Risk Management Plan)   การทบทวนเกณฑ์การประเมินและเกณฑ์การยอมรับ (Risk acceptability criteria)   การทบทวนรายงาน (Risk Management Report) 
  • ข้อมูลผลิตและหลังการผลิต (Production and Post Production activities) จัดทำแผนการเข้าถึงข้อมูลการผลิตและข้อมูลหลังผลิต กำหนดแหล่งข้อมูล ผู้รับผิดชอบและระยะเวลาที่เหมาะสม ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่และวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์  การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) และมาทบทวน ประเด็นที่ได้นำมาดำเนินการ (Action)  เช่น การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ใหม่ การปรับปรุงทบทวนความเสี่ยง  กลับเข้าสู่กระบวนการวางแผนบริหารความเสี่ยงอีกครั้ง

สรุปภาพรวมการบริหารความเสี่ยงสำหรับเครื่องมือแพทย์ มีความสำคัญและต้องจัดทำให้ครอบคลุมตลอดวงจรอายุ MD  และผลจากการประเมินความเสี่ยงต้องสามารถ ลดความเสี่ยงให้กับผู้ใช้และผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง ครบถ้วน  ลดเหตุไม่พึงประสงค์ (Adverse event & Potential Adverse effect ) ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ MD ได้

ดังนั้นแนวทางในการจัดทำ Risk Management ควรอย่างยิ่งต้องทำอย่างเป็นระบบตามวงจรการบริหารความเสี่ยง สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO13485 รวมไปถึงกฎระเบียบข้อบังคับ เช่น CE Marking , FDA และ อย. 

Download: 10 Steps for Risk Management 

#Risk Management Virtual training 

 

แหล่งที่มาข้อมูล

-  ISO14971:2019 Medical devices - Application of risk management to medical devices  

-  ISO/TR 24971:2020 Medical devices -Guidance on the application of ISO14971

Q Time Consulting เป็นทีมที่ปรึกษา ที่มีประสบการณ์มายาวนาน ให้บริการทั้งการอบรม การให้คำปรึกษาและโค้ชชิ่ง ด้วยเทคนิคและวิธีการที่นำประยุกต์ใช้งานได้จริง

Contacts

  info@qtimeconsult.com

  +662 965 5181, 081 713 3450, 089 485 1991

   +662 965 5182

   68/858 ตำบล บางกระสอ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี 11000